Hetalia Mochi - Romano

หิมะ

อักษรวิ่ง

ยินดีต้อนรับสู่เว็บบล็อกความรู้ของปอเป้ว

วันพฤหัสบดีที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2564

เรียนรู้ กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน


 กิจกรรม ลูกเสือ-เนตรนารี

 เป็นกิจกรรมภาคบังคับที่กำหนดไว้ในหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ ที่โรงเรียนจะต้องจัดให้นักเรียนทุกคนได้เข้าร่วม เพื่อมุ่งปลูกฝังให้นักเรียนเป็นผู้มีระเบียบวินัย มีความสามัคคี ตรงต่อเวลา โรงเรียนพยายามปรับให้กิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารี สอดคล้องกับกิจกรรมการเรียนการสอนของโรงเรียน โดยในทุกๆวันพฤหัสบดีนักเรียนจะได้เข้าร่วมกิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารีที่จัด ขึ้นภายในโรงเรียน ให้นักเรียนได้เรียนรู้กฏระเบียบต่างๆ ฝึกการเป็นผู้มีระเบียบวินัย มีความอดทน ฝึกทักษะในการแก้ปัญหา การทำงานร่วมกับผู้อื่น โดยมีคุณครูเป็นผู้จัดกิจกรรมให้นักเรียนได้เข้าร่วม
              นอกจากนี้ในแต่ละปีการศึกษา โรงเรียนยังจัดให้นักเรียนเดินทางไปเข้าค่ายพักแรม เพื่อฝึกทักษะต่างๆตามหลักสูตรลูกเสือ-เนตรนารี ซึ่งการนำนักเรียนเดินทางออกไปพักค้างแรมนอกสถานที่ โรงเรียนจะต้องวางแผนการจัดการอย่างเป็นระบบและรัดกุมมากที่สุด ทั้งในด้านการคัดเลือกสถานที่จัดกิจกรรมที่จะต้องมีความปลอดภัยสูง มีฐานกิจกรรมที่เหมาะสมกับวัยของนักเรียนและสอดคล้องตามวัตถุประสงค์ของหลัก สูตร รวมถึงการเรียนเชิญวิทยากรผู้กำกับลูกเสือ-เนตรนารี ที่มีประสบการณ์เข้ามาเป็นผู้นำในการจัดกิจกรรม เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้ทักษะและประสบการณ์ใหม่ๆ โดยมีคุณครูคอยติดตามดูแลความปลอดภัยของนักเรียนอยู่อย่างใกล้ชิดอีกด้วย การนำนักเรียนออกไปเข้าค่ายพักแรมนอกสถานที่ดังกล่าวนี้ สิ่งที่โรงเรียนให้ความสำคัญในลำดับต้นๆ คือ การเดินทางไป-กลับระหว่างโรงเรียนกับค่ายพักแรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเป็นการเดินทางไปพักแรมหรือทัศนศึกษาต่างจังหวัด โรงเรียนจะต้องคัดเลือกรถที่จะใช้ในการเดินทางที่มีความปลอดภัยสูงสุด และจัดงบประมาณพิเศษเป็นค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายอื่น ให้กับตำรวจทางหลวง นำขบวนนักเรียนทั้งไปและกลับตลอดเส้นทาง เพื่อให้การเดินทางของนักเรียนเป็นไปโดยสวัสดิภาพ 
             โรงเรียนจะต้องวางแผนไว้ตั้งแต่ต้นปีการศึกษาและเตรียมการต่างๆมาเป็นลำดับ อย่างต่อเนื่อง ทั้งการเลือกและเดินทางไปสำรวจสถานที่ การประชุมวางแผนการจัดกิจกรรมร่วมกับวิทยากร รวมถึงการจัดเตรียมสื่ออุปกรณ์ต่างๆ ทั้งนี้เพื่อให้กิจกรรมเข้าค่ายพักแรมลูกเสือ-เนตรนารี เป็นกิจกรรมที่พัฒนาให้นักเรียนเป็นผู้มีระเบียบวินัย ตรงต่อเวลา มีความซื่อสัตย์ ความอดทน มีทักษะในการแก้ปัญหาต่างๆ ฝึกการเป็นผู้นำ ผู้ตาม รู้จักการเสียสละ มีจิตสาธารณะ มีน้ำใจต่อผู้อื่น สอดคล้องกับนโยบายการจัดการศึกษาของโรงเรียนที่มุ่งเน้นให้ทักษะหรือ คุณสมบัติเหล่าเกิดขึ้นกับนักเรียนของเราทุกคน ควบคู่ไปกับการจัดการเรียนรู้วิชาการในห้องเรียนอย่างเป็นระบบ
             การวางแผนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนทั้งในห้องเรียน นอกห้องเรียน และนอกสถานที่ ที่โรงเรียนดำเนินการอยู่นี้ จะต้องใช้ทรัพยากรทั้งด้านงบประมาณ บุคลากรและสื่อการเรียนรู้ต่างๆเป็นจำนวนมาก อีกทั้งจะต้องใช้เวลาในการอบรมฝึกฝนทักษะต่างๆให้กับนักเรียนอย่างต่อเนื่อง 
          

  หลักการและเหตุผล

            หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551  กำหนดให้ผู้เรียนได้เรียนรู้กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนไว้ 3 กิจกรรมคือกิจกรรมแนะแนว  กิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคมและกิจกรรมตามความถนัดและความสนใจ  กิจกรมลูกเสือเนตรนารีเป็นกิจกรรมหนึ่งในกลุ่มกิจกรรมเพื่อบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคมและตามข้อบังคับคณะลูกเสือแห่งชาติ ว่าด้วยการปกครองหลักสูตรและวิชาพิเศษลูกเสือ พ.ศ. 2509 ได้เขียนไว้ ใน ข้อ 273ว่า การเดินทางไกลและแรมคืน ให้ผู้กำกับกลุ่มหรือผู้กำกับลูกเสือ นำลูกเสือไปฝึกเดินทางไกลและแรมคืนในปีหนึ่งไม่น้อยกว่า ครั้ง ครั้งหนึ่งให้พักแรมอย่างน้อยหนึ่งคืน การเดินทางไกลและแรมคืน มีวัตถุประสงค์เพื่อฝึกให้ลูกเสือมีความอดทน อยู่ในระเบียบวินัย รู้จักช่วยตัวเอง รู้จักอยู่และทำงานร่วมกับผู้อื่น ตลอดจนเรียนวิชาลูกเสือเพิ่มเติมและในการประเมินคุณภาพภายนอกเพื่อประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของ สมศ.ตัวบ่งชี้พื้นฐานที่ 2.3กล่าวถึงการบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคมของกิจกรรมลูกเสือไว้ด้วย ซึ่งแสดงให้เห็นว่ากิจกรรมลูกเสือมีความสำคัญต่อผู้เรียนมาก โรงเรียนบ้านทุ่งเลียบจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องจัดให้มีโครงการนี้ขึ้น


เรียนรู้ วิชาภาษาอังกฤษ


  หลักการใช้ in on at

คำว่า in on at เป็นคำบุรพบทครับ แปลว่า ใน บน ที่ ตามลำดับ สามคำนี้อาจจะไม่สร้างความสบสนมากนักถ้านำไปใช้กับสถานที่ แต่จะสร้างความสบสนนึดนึงกับการนำไปไช้กับเวลาครับ เพราะตอนที่แปลออกมาแล้วมันแย้งกันระหว่างภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ในบทเรียนนี้จะนำเสนอหลักการใช้ in on at ทั้งกับเวลาและสถานที่

หลักการใช้ in on at กับเวลา (วันเดือนปี)

อย่างที่ได้บอกไปแล้วว่า in on at แปลว่า ใน บน ที่ แต่นั่นคือความหมายที่ปรากฎในพจนานุกรม แต่ว่าเวลาแปลจริงๆ จะต้องแปลตามภาษาที่ใช้กันนะฮะ

♦ การใช้ in กับเวลา

in ใช้กับวันเวลาต่อไปนี้

  • ช่วงเวลาของวัน [ in แปลว่า ใน] 
    in the morning (ในตอนเช้า)
    in the afternoon (ในตอนบ่าย)
    in the evening (ในตอนเย็น)
  • เดือนทั้ง 12 [ in แปลว่า ใน] 
    in January (มกราคม)
    in February (กุมภาพันธ์)
    in March (มีนาคม)
    in April (เมษายน) etc….
  • ฤดูกาลในเมืองหนาว [ in แปลว่า ใน]
    in summer หรือ in fall (ฤดูร้อน)
    in winter (ฤดุหนาว)
    in spring (ฤดูใบไม้ผลิ)
  • ฤดูกาลของไทย [ in แปลว่า ใน]
    in rainy seaon (ฤดูฝน)
    in cold season (ฤดูหนาว)
    in hot season (ฤดูร้อน)
  • ปี [ in แปลว่า ใน]
    in2000 ในปี 2000
    in 1999 ในปี 1999 etc….

เรียนรู้ วิชาดนตรีนาฏศิลป์


 เป็นศิลปะการแสดงประกอบดนตรีของไทย เช่น ฟ้อน รำ ระบำ โขน แต่ละท้องถิ่นจะมีชื่อเรียกและมีลีลาท่าการแสดงที่แตกต่างกันไป สาเหตุหลักมาจากภูมิประเทศ ภูมิอากาศของแต่ละท้องถิ่น ความเชื่อ ศาสนา ภาษา นิสัยใจคอของผู้คน ชีวิตความเป็นอยู่ของแต่ละภาค

นาฏศิลป์ไทยเป็นศิลปะการละครฟ้อนรำและดนตรีอันมีคุณสมบัติตามคัมภีร์นาฏะหรือนาฏยะกำหนดว่า ต้องประกอบไปด้วยศิลปะ 3 ประการ คือ การฟ้อนรำ การดนตรี และการขับร้อง รวมเข้าด้วยกัน ซึ่งทั้ง 3 สิ่งนี้ เป็นอุปนิสัยของคนมาแต่ดึกดำบรรพ์ นาฏศิลป์ไทยมีที่มาและเกิดจากสาเหตุแนวคิดต่าง ๆ เช่น เกิดจากความรู้สึกกระทบกระเทือนทางอารมณ์ไม่ว่าจะอารมณ์แห่งสุข หรือความทุกข์และสะท้อนออกมาเป็นท่าทางแบบธรรมชาติและประดิษฐ์ขึ้นมาเป็นท่าทางลีลาการฟ้อนรำ หรือเกิดจากลัทธิความเชื่อในการนับถือสิ่งศักดิ์สิทธ์ เทพเจ้า โดยแสดงความเคารพบูชาด้วยการเต้นรำ ขับร้องฟ้อนรำให้เกิดความพึงพอใจ เป็นต้น นาฏศิลป์ไทยยังได้รับอิทธิพลแบบแผนตามแนวคิดจากต่างชาติเข้ามาผสมผสานด้วย เช่น วัฒนธรรมอินเดียเกี่ยวกับวรรณกรรมที่เป็นเรื่องของเทพเจ้าและตำนานการฟ้อนรำโดยผ่านเข้าสู่ประเทศไทยทั้งทางตรงและทางอ้อมคือผ่านชนชาติชวาและเขมร ก่อนที่จะนำมาปรับปรุงให้เป็นรูปแบบตามเอกลักษณ์ของไทย เช่น ตัวอย่างของเทวรูปศิวะปางนาฏราชที่สร้างเป็นท่าการร่ายรำของพระอิศวร ซึ่งมีทั้งหมด 108 ท่า หรือ 108 กรณะ โดยทรงฟ้อนรำครั้งแรกในโลก ฌ ตำบลจิทรัมพรัม เมืองมัทราส อินเดียใต้ ปัจจุบันอยู่ในรัฐทมิฬนาดูนับเป็นคัมภีร์สำหรับการฟ้อนรำ แต่งโดยพระภรตมุนีเรียกว่าคัมภีร์ภรตนาฏยศาสตร์ ถือเป็นอิทธิพลสำคัญต่อแบบแผนการสืบสานและถ่ายทอดนาฏศิลป์ของไทยจนเกิดขึ้นเป็นเอกลักษณ์ของตนเองที่มีรูปแบบ แบบแผนการเรียน การฝึกหัด จารีต ขนบธรรมเนียมมาจนถึงปัจจุบัน บรรดาผู้เชี่ยวชาญที่ศึกษาทางด้านนาฏศิลป์ไทยได้สันนิษฐานว่า อารยธรรมทางศิลปะด้านนาฏศิลป์ของอินเดียนี้ได้เผยแพร่เข้ามาสู่ประเทศไทยตั้งแต่สมันกรุงศรีอยุธยาตารมประวัติการสร้างเทวาลัยศิวะนาฏราชที่สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 1800 ซึ่งเป็นระยะที่ไทยเริ่มก่อตั้งกรุงสุโขทัย ดังนั้นท่ารำไทยที่ดัดแปลงมาจากอินเดียในครั้งแรกจึงเป็นความคิดของนักปราชญ์ในสมัยกรุงศรีอยุธยา และมีการแก้ไขปรับปรุงหรือประดิษฐ์ขึ้นใหม่ในกรุงรัตนโกสินทร์ จนนำมาสู่การประดิษฐ์ท่าร่ายรำและละครไทยมาจนถึงปัจจุบันประวัติ


เรียนรู้ วิชาสุขศึกษา-พละ

 


สุขศึกษา ชีพจรของคุณบ่งบอกว่าหัวใจของคุณเต้นเร็วมากเท่าไหร่ มันยังสามารถส่งสัญญาณว่าหัวใจของคุณทำงานได้ดีแค่ไหนและแม้แต่บ่งบอกระดับของสุขภาพและความฟิตของร่างกาย มันอาจจะฟังดูยากแต่การวัดชีพจรนั้นเป็นเรื่องง่ายและไม่ต้องใช้เครื่องมืออะไรเป็นพิเศษ คุณสามารถวัดชีพจรของคุณได้โดยใช้มือหรือใช้เครื่องวัดชีพจรอิเล็กทรอนิกส์หรือเครื่องวัดอัตราการเต้นของหัวใจ


พละ
ประวัติความเป็นมาของมวยไทย
มวยไทยเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของคนไทยที่สืบทอดกันมานาน เป็นทั้งการต่อสู้ป้องกันตัวและกีฬา ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่า เกิดขึ้นครั้งแรกในสมัยใด แต่ถือว่ามวยไทยเป็นศิลปะการต่อสู้ของไทยเช่นเดียวกับกังฟูของจีน ยูโดและคาราเต้ของญี่ปุ่น และเทควันโดของเกาหลี

กีฬาปิงปอง เป็นกีฬาสันทนาการอีกชนิดหนึ่งที่สามารถเล่นเพื่อสร้างความสนุกสนานในหมู่คณะ ขณะเดียวกันก็เป็นกีฬาที่มีความท้าทายที่ผู้เล่นต้องต้องอาศัยไหวพริบ และความคล่องแคล่วของร่างกายในการรับ-ส่งลูก ซึ่งความท้าทายนี้จึงทำให้กีฬาปิงปองได้รับความนิยมในระดับสากล กระทั่งถูกบรรจุในการแข่งขันระดับโลก

เรียนรู้ วิชาภาษาจีน


 

ความเป็นมาของภาษาจีน


ยุคสมัยของเราเป็นยุคสมัยที่การเปลี่ยนแปลงเต็มไปด้วยแรงเหวี่ยงที่ทั้งแรงและเร็ว จนกระทั่งเชื่อกันว่า ใครที่ตามไม่ทันการเปลี่ยนแปลงนี้ก็อาจจะตกยุคตกสมัย หรืออาจแม้แต่ตกเป็นเหยื่อเอาเลยก็ว่าได้ ในบรรดาสิ่งที่เปลี่ยนแปลงที่แรงและเร็ว มักจะมีภาษาจีนอยู่เป็นส่วนหนึ่งเสมอ ทุกวันนี้เรื่องของภาษาจีน มักจะเป็นหัวข้อที่ขาดไม่ได้ สำหรับวงอภิปรายหรือสนทนาของหลายวงการ แต่ละวงก็มีตั้งแต่หน่วยสังคมที่เล็กที่ในระดับครอบครัว จนถึงหน่วยที่ใหญ่ที่สุดคือระดับชาติ ทำไมภาษาจีนจึงเป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงในสังคมไทย? คำถามนี้แทบจะไม่ต้องตอบกันก็ว่าได้ เพราะลำพังปรากฏการณ์การดำรงอยู่ของชาวจีนโพ้นทะเลในสังคมไทย เพียงเรื่องเดียว ก็สามารถตอบคำถามที่ว่าได้อย่างยาวเหยียด แต่ถ้าถามใหม่ว่า ฐานะของภาษาจีนในสังคมไทยเป็นอย่างไร จากอดีตจนถึงยุคสมัยของเราแล้ว คำตอบอาจแตกประเด็นไปได้มากมาย ที่แน่ๆ คือ ไม่มีใครที่มองไม่เห็นความสำคัญของภาษาจีนอีกต่อไป

ดังนั้น หากจะกล่าวถึงภาษาจีนในยุคสมัยของเราแล้ว ก็คงหนีไม่พ้นที่จะต้องชี้ให้เห็นถึงฐานะของภาษาจีนในสังคมไทยอย่างเป็นด้านหลัก เพราะนั่นคือวิธีหนึ่ง (จากหลายๆ วิธี) ที่จะเข้าใจสภาพการดำรงอยู่ของภาษาจีนในสังคมไทยได้ดีขึ้น หรือเป็นระบบขึ้น ความเข้าใจนี้บางทีอาจช่วยให้ได้ตระหนักถึงความสำคัญ และทิศทางที่พึงประสงค์ของภาษาจีนได้ชัดขึ้น โดยเฉพาะในยุคสมัยของเรา

นับแต่โบราณกาลมา ผู้คนรู้จักใช้เส้นเชือก ภาพวาดและเครื่องหมายเพื่อใช้ในการจดบันทึกสิ่งต่าง ๆ เมื่อล่วงเวลานานเข้า จึงเกิดวิวัฒนาการกลายเป็นตัวอักษร สำหรับศิลปะในการเขียนตัวอักษรจีนนั้น ได้ถือกำเนิดขึ้นมาพร้อม ๆกับตัวอักษรจีนเลยทีเดียว ดังนั้น การจะศึกษาถึงศิลปะในการเขียนตัวอักษรจีนจึงต้องทำความเข้าใจถึงต้นกำเนิด ของตัวอักษรควบคู่กันไป

เรียนรู้ วิชาการงานการงานอาชีพ

 



ตะโก้ เป็นขนมที่มีส่วนผสม คือแป้งกะทิและน้ำตาล
ทรายเป็นหลัก ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ตัวขนมเป็นแป้งและน้ำตาล และส่วนหน้าขนมเป็นกะทิ แป้งและเกลือส่วนผสมของตัวขนมสามารถผสมวัตถุดิบ อื่นเพื่อให้เกิดรสชาติที่หลากหลาย เช่น แห้วข้าวโพด เผือกหรือจะเพิ่มสีเขียวของใบเตย และมีชื่อเรียกตาม วัตถุดิบที่ผสมลงไป เช่น ตะโก้แห้ว ตะโก้เผือก เป็นต้น

เรียนรู้ วิชาคณิตศาสตร์

.พหุนาม คือ นิพจน์ที่เขียนในรูปเอกนาม หรือเขียนในรูปการบวกของเอกนามตั้งแต่สองเอกนามขึ้นไป  เช่น

  • 15     เป็นเอกนาม และพหุนาม
  • 3ab     เป็นเอกนาม และพหุนาม
  • 3x + 2y     เป็นพหุนามที่เขียนในรูปการบวกการบวกของเอกนามสองเอกนาม คือ 3x และ 2y
  • 2x2 + 3x + 2  เป็นพหุนามที่เขียนในรูปการบวกการบวกของเอกนามสามเอกนาม คือ 2x2 ,  3x และ  2

…….ในพหุนามใด ๆ เราจะเรียกแต่ละเอกนามที่อยู่ในพหุนามนั้นว่า พจน์ (term) ของพหุนาม และในกรณีที่พหุนามนั้นมีเอกนามที่คล้ายกัน เราจะเรียกเอกนามที่คล้ายกันว่า พจน์ที่คล้ายกัน (like term)

  • พหุนาม  2x2 + 3x + 2  มีพจน์คือ  2x2 ,  3x  และ  2
  • พหุนาม x− 2x2 + 4x3 + 2  มีพจน์คือ x3 , 2x2 , 4x3 และ 2   โดยที่  xและ 4xเป็นพจน์ที่ึคล้ายกัน

……ในกรณีที่พหุนามมีพจน์บางพจน์ที่คล้ายกัน เราสามารถรวมพจน์ที่คล้ายกันเข้าด้วยกันเพื่อทำให้พหุนามนั้นอยู่ในรูปที่ไม่มีพจน์ที่คล้ายกันเลย เราเรียนกพหุนามที่ไม่มีพจน์คล้ายกันเลยว่า พหุนามในรูปผลสำเร็จ (polynomial in the simplest form) และเรียกดีกรีสูงสุดของพจน์ของพหุนามในรูปผลสำเร็จว่า ดีกรีของพหุนาม (degree of  polynomial)  เช่น

  • 2x3 + 5x − 3 + 4x + 2x3 − 3x2
    =    2x3 + 2x3 − 3x2 + 5x + 4x − 3
    =   4x3 − 3x2 + 9x − 3
    ซึ่งดีกรีของพหุนาม เท่ากับ 3